วันอาทิตย์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

กิจกรรม 8 พฤศจิกายน 2553

ส่งงาน



อธิบายข้อสอบ  ดีเอ็นเอ (อังกฤษ: DNA) เป็นชื่อย่อของสารพันธุกรรม มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า กรดดีออกซีไรโบนิวคลีอิก (Deoxyribonucleic acid) ซึ่งเป็นกรดนิวคลีอิก (กรดที่พบในใจกลางของเซลล์ทุกชนิด) ที่พบในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ได้แก่ คน, สัตว์, พืช, เชื้อรา, แบคทีเรีย, ไวรัส เป็นต้น ดีเอ็นเอบรรจุข้อมูลทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตชนิดนั้นไว้ ซึ่งมีลักษณะที่ผสมผสานมาจากสิ่งมีชีวิตรุ่นก่อน ซึ่งก็คือ พ่อและแม่ และสามารถถ่ายทอดไปยังสิ่งมีชีวิตรุ่นถัดไป ซึ่งก็คือ ลูกหลาน

ดีเอ็นเอมีรูปร่างเป็นเกลียวคู่ คล้ายบันไดลิงที่บิดตัว ขาของบันไดแต่ละข้างก็คือการเรียงตัวของนิวคลีโอไทด์ (Nucleotide) นิวคลีโอไทด์เป็นโมเลกุลที่ประกอบด้วยน้ำตาล, ฟอสเฟต (ซึ่งประกอบด้วยฟอสฟอรัสและออกซิเจน) และเบส (หรือด่าง) นิวคลีโอไทด์มีอยู่สี่ชนิด ได้แก่ อะดีนีน (adenine, A) , ไทมีน (thymine, T) , ไซโทซีน (cytosine, C) และกัวนีน (guanine, G) ขาของบันไดสองข้างหรือนิวคลีโอไทด์ถูกเชื่อมด้วยเบส โดยที่ A จะเชื่อมกับ T และ C จะเชื่อมกับ G เท่านั้น (ในกรณีของดีเอ็นเอ) และข้อมูลทางพันธุกรรมในสิ่งมีชีวิตชนิดต่าง ๆ เกิดขึ้นจากการเรียงลำดับของเบสในดีเอ็นเอนั่นเอง

ผู้ค้นพบดีเอ็นเอ คือ ฟรีดริช มีเชอร์ ในปี พ.ศ. 2412 (ค.ศ. 1869) แต่ไม่ทราบว่ามีโครงสร้างอย่างไร จนในปี พ.ศ. 2496 (ค.ศ. 1953) เจมส์ ดี. วัตสัน และฟรานซิส คริก เป็นผู้ไขความลับโครงสร้างของดีเอ็นเอ และนั่นนับเป็นจุดเริ่มต้นของยุคเทคโนโลยีทางดีเอ็นเอ ในประเทศไทย มีนิยายวิทยาศาสตร์ชื่อ ดีเอ็นเอเขียนโดยวีรวัฒน์ กนกนุเคราะห์

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%AD


อธิบายข้อสอบ 

ไตเป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่กรองของเสียออกจากเลือดและขับออกพร้อมกับน้ำในรูปของปัสสาวะ แขนงของวิชาแพทย์ที่ศึกษาไตและโรคที่เกี่ยวข้องกับไตเรียกว่าวิทยาระบบไต (Nephrology)
ไตของมนุษย์อยู่ที่ส่วนล่างของช่องท้อง มีสองข้างซ้ายขวา ไตขวาอยู่ด้านใต้ติดกับตับ ไตซ้ายอยู่ใต้กะบังลมและอยู่ติดกับม้าม ข้างบนไตทั้งสองข้างมีต่อมหมวกไต (Adrenal gland) อยู่ เนื่องจากในช่องท้องมีตับอยู่ทำให้ร่างกายสองข้างไม่สมมาตรกัน ตำแหน่งของไตขวาจึงอยู่ต่ำกว่าไตซ้ายเล็กน้อย ประมาณ1เซนติเมตร และไตซ้ายยังอยู่ค่อนมาทางกลางลำตัวมากกว่าไตขวาเล็กน้อยเช่นกัน
ไตเป็นอวัยวะที่อยู่หลังเยื่อบุช่องท้อง (Retroperitoneal organ) อยู่ในระดับประมาณกระดูกสันหลังท่อนที่ T12 ถึง L3 บางส่วนของส่วนบนของไตถูกปกป้องโดยกระดูกซี่โครงคู่ที่ 11 และ 12 นอกจากนั้นแล้วไตทั้งลูกยังถูกห่อหุ้มด้วยชั้นไขมันสองชั้น (perirenal fat และ pararenal fat) ในบางครั้งอาจมีความผิดปกติแต่กำเนิดทำให้มีไตเพียงหนึ่งข้าง หรือไม่มีเลยก็เป็นไปได้ ไต มี 2 ชั้น คือ 1.ชั้นนอก เรียกว่า คอร์เทกซ์ (cortex) -มีสีแดง เพราะว่ามี โกบเมรูลัสอยู่ในชั้นนี้ 2.ชั้นใน เรียกว่า เมดูลลา (medulla) -มีสีขาว เพราะว่าส่วนใหญ่มีแต่ท่อหน่วยไต

 http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%84%E0%B8%95
อธิบายข้อสอบ  จริง ๆ แล้วความเห็นข้างต้นเป้นเพียงส่วนเดียว ที่จริงแล้ว การที่ดืมแอลกอฮอล์แล้วปัสสาวะออกมามากก็เพราะ แอลกอฮอล์ไปยับยั้งการทำงานของฮอน์โมน vasopressin หรือ Antidiuretic hormone (ADH) เพราะ ADH มีหน้าที่ควบคุมการดูดกลับของน้ำ ถ้าปกติแล้วเราจะขับปัสสาวะในปริมาณที่เป้นปกติในแต่ละวัน แต่ถ้าเมื่อใดดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เข้าไปมาก ๆ มันก็จะไปยับยั้งการทำงานของ ADH ทำให้มันสับสนและเกิดความแปรปรวน แทนที่จะดูดน้ำกลับ แต่ก็ไม่สามารถควบคุมในส่วนหน้าที่นี้ได้จึงทำให้ควบคุมการปัสสาวะไม่ได้ จึงปล่อยน้ำออกมาบ่อยหรือในปริมาณมากนั่นเอง

http://www.vcharkarn.com/vcafe/35620




     
อธิบายข้อสอบ  
สมบัติของกรด


กรดมีสมบัติกัดกร่อนโลหะ หินปูน หรือเนื้อเยื่อของร่างกาย

กรดทุกชนิดนำไฟฟ้าได้ดี

กรดหลายชนิดมีรสเปรี้ยว แต่บางชนิดก็ไม่มีรสเปรี้ยว เช่น กรดคาร์บอนิก (โซดา

กรดทำปฏิกิริยากับเบส จะสะเทินและได้น้ำกับเกลือ

การแตกตัวของไอออน
ในสารละลายกรดทุกชนิด จะมีไอออนที่เหมือนกันอยู่ส่วนหนึ่งคือไฮโดรเจนไอออน H+ เมื่อรวมกับน้ำจะได้เป็นไฮโดรเนียมไอออน H3O+ ตัวอย่างเช่น กรดไฮโดรคลอริก (HCl) ซึ่งเกิดจากสารประกอบไฮโดรเจนคลอไรด์ HCl ละลายในน้ำ โมเลกุลของ HCl และน้ำต่างก็เป็นโมเลกุลมีขั้ว จึงเกิดแรงดึงดูดระหว่างขั้วของ HCl กับน้ำ โดยที่โปรตอน (H) ของ HCl ถูกดึงดูดโดยโมเลกุลของน้ำเกิดเป็นไฮโดรเนียมไอออน H+ + H2O → H3O+ ในบางครั้งเขียนแทน H3O+ ด้วย H+ โดยเป็นที่เข้าใจว่า H+ นั้นจะอยู่รวมกับโมเลกุลของน้ำในรูป H3O+ เสมอ
ไฮโดรเนียมไอออนในน้ำไม่ได้อยู่เป็นไอออนเดียว แต่จะมีน้ำหลายโมเลกุลมาล้อมรอบด้วย อาจอยู่ในรูปของ H5O2+, H7O3+, H9O4+ เป็นต้น ส่วนไอออนลบที่เหลือจากการแตกตัวก็จะมีน้ำมาล้อมรอบเช่นกัน หรืออาจทำปฏิกิริยากับสารอื่นที่ละลายปนอยู่ด้วยกัน
ตัวอย่าง สมการเคมีแสดงการแตกตัวของไอออนของกรดในน้ำ

ประเภทของกรด
กรดแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
1.กรดอินทรีย์ เป็นกรดที่ได้จากธรรมชาติ เกิดขึ้นจากสิ่งมีชีวิต เช่น กรดแอซิติก (กรดน้ำส้ม) กรดซิตริก (กรดมะนาว) กรดแอสคอร์บิก (วิตามินซี) กรดอะมิโน ฯลฯ

2.กรดอนินทรีย์ เป็นกรดที่ได้จากแร่ธาตุ บางครั้งเรียกว่ากรดแร่ เช่น กรดซัลฟิวริก (กรดกำมะถัน) กรดไฮโดรคลอริก (กรดเกลือ) กรดไนตริก (กรดดินประสิว) ฯลฯ
หรืออาจแบ่งตามความสามารถในการแตกตัวให้ไฮโดรเจนไอออน มี 2 ชนิดคือ กรดแก่และกรดอ่อน

1.กรดแก่ กรดกลุ่มนี้มีค่า pKa น้อยกว่า 1.74 เช่น กรดไฮโดรคลอริก กรดไนตริก กรดซัลฟิวริก ฯลฯ
กรดแก่ยิ่งยวด เป็นกรดแก่เช่นกัน แต่สามารถแตกตัวให้ไฮโดรเจนไอออนมากกว่ากรดซัลฟิวริกเข้มข้น 100% จึงมีค่า pH น้อยกว่า 0 เช่น กรดฟลูออโรแอนติมอนิก

2.กรดอ่อน กรดกลุ่มนี้มีค่า pKa ไม่น้อยกว่า 1.74 แต่ก็ไม่ถึงกับเป็นกลาง เช่น กรดน้ำส้ม กรดคาร์บอนิก กรดไฮโดรซัลฟิวริก ฯลฯ

การทดสอบกรด

ดูเพิ่มที่ สารชี้บอกพีเอช
ใช้กระดาษลิตมัส กรดจะเปลี่ยนกระดาษจากสีน้ำเงินหรือสีม่วง เป็นสีแดงหรือสีส้ม
ใช้เจนเชียนไวโอเลต (หรือเมทิลไวโอเลต) ถ้าเป็นกรดอนินทรีย์ สีของเจนเชียนไวโอเลตจะเปลี่ยนจากสีม่วง เป็นสีเขียวหรือน้ำเงิน ส่วนกรดอินทรีย์ไม่มีความเปลี่ยนแปลง
ทฤษฎีกรด-เบส
คำว่า ‘กรด’ ในภาษาอังกฤษ (acid) มาจากภาษาละตินว่า แอซิดัส (acidus) ซึ่งแปลว่าเปรี้ยว แต่ในวิชาเคมีมีความหมายแตกต่างออกไป โดยมีทฤษฎีกรด-เบส เป็นตัวขยายความ

ทฤษฎีกรด-เบส อาร์เรเนียส (สวันเต อาร์เรเนียส) ระบุว่า กรด เมื่อละลายในน้ำแล้วจะเพิ่มความเข้มข้นของไฮโดรเนียมไอออน ส่วนเบสเมื่อละลายน้ำจะเพิ่มความเข้มข้นของไฮดรอกไซด์ไอออน
หมายเหตุ : นิยามดังกล่าวจำกัดอยู่เฉพาะกรดและเบสที่ละลายได้ในน้ำเท่านั้น

ทฤษฎีกรด-เบส เบรินสเตต-ลาวรี (โยฮันเนส เบรินสเตต และทอมัส ลาวรี) ระบุว่า กรด เป็นตัวให้โปรตอน และเบส เป็นตัวรับโปรตอน ซึ่งกรดและเบสที่สอดคล้องกันจะอยู่ในรูปคู่กรด-เบส
หมายเหตุ : นิยามนี้สามารถใช้อธิบายความเป็นกรด-เบสของสาร โดยไม่จำเป็นต้องละลายน้ำก็ได้
ทฤษฎีกรด-เบส ลิวอิส (กิลเบิร์ต ลิวอิส) ระบุว่า กรดเป็นตัวรับคู่อิเล็กตรอน และเบสเป็นตัวให้คู่อิเล็กตรอน (บางทีอาจเรียกกรดและเบสในทฤษฎีนี้ว่า กรดลิวอิส และเบสลิวอิส)

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%94

กรดน้ำส้ม หรือ กรดแอซีติก (อังกฤษ: acetic acid) เป็นสารประกอบเคมีอินทรีย์ชนิดหนึ่งที่มีอยู่ในน้ำส้มสายชู (มิใช่พืชตระกูลส้มซึ่งให้กรดซิตริก) คือให้รสเปรี้ยวและกลิ่นฉุน กรดแอซีติกแข็งตัวที่อุณหภูมิต่ำกว่า 16.7 °C มีลักษณะเป็นผลึกใส กรดชนิดนี้มีฤทธิ์กัดกร่อน ไอของกรดสามารถทำให้ตาและจมูกระคายเคือง แต่ก็ยังมีฤทธิ์เป็นกรดอ่อนหากละลายน้ำ ซึ่งมีประโยชน์มากในการขจัดตะกรันในท่อน้ำ ในด้านอุตสาหกรรมอาหาร กรดแอซีติกใช้เป็นวัตถุเจือปนอาหารเพื่อควบคุมความเป็นกรดภายใต้รหัส E260
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%94%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%AA%E0%B9%89%E0%B8%A1 
อธิบายข้อสอบ ไวรัสมีลักษณะสำคัญ 3 ประการ คือ 


1. สามารถทำให้เกิดโรคและติดต่อได้ (transmissible)


2. สามารถเพิ่มจำนวนได้เฉพาะในพืชที่มีชีวิตเท่านั้น( reproduce only in vivo )


3. มีขนาดเล็กมากจนไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยกล้องจุลทรรศน์ชนิดใช้แสงธรรมดา( light microscope )


การจัดจำแนก( classification ) โดยใช้ธรรมชาติของเชื้อยังไม่สามารถกระทำได้ เนื่องจากความรู้และข้อมูลที่สำคัญในเรื่องธรรมชาติของเชื้อไวรัสสาเหตุของโรคยังไม่สมบูรณ์พอ ดังนั้นการจัดจำแนกกลุ่มของไวรัสสาเหตุของโรคพืชจึงใช้ลักษณะอื่นๆ แทน
ลักษณะอาการของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อไวรัส ( symptoms of viral diseases in plant )
ลักษณะอาการที่เกิดจากเชื้อไวรัสแบบทั่วไปทั้งต้นเรียกว่า systemic symptom เนื่องจากไวรัสแพร่กระจายไปทุกส่วนของพืช สำหรับลักษณะอาการแบบเฉพาะที่ เรียกว่า local symptom ลักษณะอาการทั่วไปของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อไวรัสคือ การลดลงของขนาดพืช ส่วนยอดของพืชอาจไหม้และส่วนของใบอาจมีสีเหลืองซีดหรือเป็นจุดสีเหลืองซีดหรือจุดสีน้ำตาล หรือเป็นรอยจุดด่างเป็นดวงๆ( ring spot ) หรือเป็นรอยขีด( streak ) ใบพืชอาจจะเสียรูปร่างไปเพียงเล็กน้อย ใบเป็นคลื่น หรืออาจจะเสียรูปร่างไปจนไม่เหลือลักษณะเดิม

ความรุนแรงและลักษณะอาการของโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งจะผันแปรไปได้ด้วยปัจจัยต่างๆ เช่น ชนิดและอายุของพืช สภาพแวดล้อมก่อนเกิดการติดเชื้อ( infection ) และในระหว่างที่มีการพัฒนาของโรค และความผันแปรในตัวของเชื้อไวรัสเอง ความผันแปรในตัวเชื้อไวรัสชนิดใดชนิดหนึ่งสามารถตรวจสอบได้จากความแตกต่างในเรื่องของ ความสามารถในการก่อให้เกิดโรคกับพืชชนิดต่างๆ ลักษณะอาการของโรคที่เกิดขึ้นในต้นพืช และการถ่ายทอดเชื้อโรคโดยแมลงว่าเป็นแมลงชนิดใด ซึ่งความผันแปรนี้ก่อให้เกิดการแบ่งชนิดของไวรัสเป็น strain


การถ่ายทอดเชื้อไวรัส ( virus transmission )
การแพร่กระจายของเชื้อไวร้สเกิดได้ 4 ทางดังนี้


1. ทางเมล็ด แต่เกิดขึ้นได้ยากมาก อาจเป็นเพราะว่าขณะเกิดต้นอ่อนภายในเมล็ดนั้น เชื้อไวรัสไม่สามารถติดเข้าไปได้


2. ทางส่วนขยายพันธุ์โดยไม่อาศัยเพศ ( vegetative organ ) เชื้อไวรัสสาเหตุของโรคพืชที่ก่อให้เกิดอาการแบบ systemic ทั้งหมด ถ่ายทอดเชื้อโรคได้ด้วยวิธีนี้


3. ทางการสัมผัส มักเกิดในกรณีที่มีเชื้อไวรัสในปริมาณความเข้มข้นสูง อาจเกิดโดยการเสียดสีของกิ่งของต้นที่อยู่ใกล้กันขณะที่มีลมพัด หรือการที่รากของต้นไม้มาแตะกันแล้วเชื้อผ่านเข้าทางรอยแผล หรือเกิดการเชื่อมกันของราก ( root grafting )


4. ทางตัวพาหะ( vector ) เป็นวิธีการถ่ายทอดเชื้อที่สำคัญที่สุด ตัวพาหะนี้ได้แก่ รา ไส้เดือนฝอย นก สัตว์ขนาดใหญ่ และแมลง ซึ่งแมลงจัดว่าเป็นตัวพาหะที่สำคัญที่สุด


ความสัมพันธ์ระหว่างไวรัสสาเหตุของโรคพืชและตัวพาหะที่เป็นสัตว์ขาปล้อง ( The relations of plant viruses to arthropod vectors )
http://www.jobpub.com/articles/showarticle.asp?id=2404

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น